ไม่พบผลการค้นหา
กรมประชาสัมพันธ์เผยเเพร่ภาพ 'ทหารพราน' ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโควิด-19 บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา ชาวเน็ต รุมติงยับไร้ประโยชน์ เปลืองงบประมาณ 'อ.เจษฎา' ยันไม่ได้ผล

เมื่อวันที่ 13 เม.ย. สังคมออนไลน์วิพากษ์วิจารณ์ภาพและการกระทำของเจ้าหน้าที่ทหารหลังฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโควิด-19 บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา

ภาพดังกล่าวถูกเผยแพร่โดยทวิตเตอร์ PRD กรมประชาสัมพันธ์ โดยระบุ "ชายแดนก็ต้องปลอดโควิด

ทหารพราน 36 ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโควิด-19 เพิ่มอีก 5 พื้นที่รองรับ ภายหลังผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมาเดินทางกลับยังภูมิลำเนา"

Ey1wXfgVgAERsYJ.jpg

ภายหลังภาพดังกล่าวถูกเผยเเพร่ออกไป ชาวเน็ตต่างเข้ามาวิพากษ์วิจารณ์กันจำนวนมาก ส่วนใหญ่ตั้งคำถามถึงความคุ้มค่าและประสิทธิภาพในการฉีดน้ำยาบริเวณชายแดน ตัวอย่างเช่น

"เสียดายเงินนะคะ ทำแต่เรื่องไม่มีประโยชน์ งงมาก"

"ถามจริง ไม่มีใครห้ามใครเลยเหรอ"

"สุภาษิตวันนี้ขอเสนอคำว่า ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ หมายถึง การลงทุนลงแรงไปเป็นจำนวนมาก แต่ได้ผลลัพธ์เพียงน้อยนิดไม่คุ้มค่ากับที่ลงทุนไป หรือไม่มีประโยชน์อะไรเลย"

ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2563 สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย เคยออกมาระบุถึงการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อบนตัวบุคคลหรือสถานที่เพื่อทำลายเชื้อสาเหตุของโควิด-19 ว่า

การฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อบนร่างกายของบุคคลทั่วไป ทั้งในลักษณะของการสร้างอุโมงค์ให้เดินผ่าน หรือเดินผ่านไปตามทางเดินปกติ การฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อบนถนนหรือสถานที่สาธารณะต่าง ๆ ตลอดจนภายในอาคารบ้านเรือนที่พักอาศัยหรือร้านค้า

ขอชี้แจงว่า 1.การฉีดพ่นทำลายเชื้อบนร่างกาของบุคคล ไม่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยต่อการติดเชื้อ เนื่องจากหากบุคคลมีเชื้อไวรัสอยู่ เชื้อจะอยู่ที่ทางเดินหายใจ ซึ่งการพ่นยาฆ่าเชื้อในลักษณะดังกล่าว จะไม่สามารถทำลายเชื้อได้

นอกจากนี้ ยาฆ่าเชื้อยังอาจจะเป็นอันตรายต่อคนได้ จึงไม่ควรทำโดยเด็ดขาด การป้องกันการแพร่เชื้อที่ถูกต้อง คือการรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล การใช้หน้ากากอนามัยอย่างถูกต้อง และการรักษาความสะอาดของมือ

2.ไม่มีความจำเป็นต้องฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อหรืออบฆ่าเชื้อด้วยสารเคมีต่าง ๆ บนถนน สถานที่สาธารณะ หรืออาคารบ้านเรือนใด ๆ ไม่ว่าในสถานที่นั้นจะมีผู้ป่วยโรคนี้หรือไม่ การปฏิบัติดังกล่าวเป็นการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ เพราะไม่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

นอกจากนี้ หากในบริเวณนั้นมีเสมหะหรือสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจของผู้ป่วยที่ยังไม่แห้ง การฉีดพ่นน้ำยาอาจทำให้เชื้อฟุ้งกระจายขึ้นมาเป็นอันตรายได้ หากจะทำความสะอาดในกรณีมีผู้พักอาศัยหรือผู้ใช้บริการป่วยเป็นโรคนี้ แนะนำให้ใช้วิธีเช็คถูด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ

เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยืนยันว่า การนำสารเคมียาฆ่าเชื้อมาฉีดพ่นตามถนนและพื้นที่สาธารณะนอกจากไม่ได้ผลในการควบคุมโรค (แหล่งแพร่เชื้อโรคคือร่างกายของผู้ที่ติดเชื้อ ควรควบคุมตรงการคลุกคลีกันระหว่างผู้คนมากกว่า) ยังเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ เพราะเชื้อไวรัสสามารถตายได้โดยไม่ยาก ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงและแสงแดดจัด

Ey1wXfgUUAcktlO.jpgEy1wXffUUAMVdcX.jpg