ไม่พบผลการค้นหา
ภาคเอกชน ยังห่วงปัญหา PM 2.5 กระทบเศรษฐกิจ ตั้งเป้าไม่รับซื้ออ้อยเผาภายในปี 2565 ขอรัฐเอาจริงห้ามใช้รถขนส่งหมดอายุ วันคู่-วันคี่ รวมถึงลดภาษีให้คนปลูกป่า

นายรังสิต เฮียงราช ผู้อำนวยการบริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด ยอมรับว่า ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ส่วนหนึ่งเกิดจากการเผาไร่อ้อยของเกษตรกร เนื่องจากการขาดแคลนแรงงานและเครื่องจักรทางการเกษตร โดยประเมินว่าหากจะให้เพียงพอจำเป็นที่ต้องมีการซื้อเครื่องตัดอ้อยเพิ่ม 4,000 กว่าคัน หรือใช้เงินลงทุนราว 60,000 ล้านบาท ซึ่งเกษตรกรไม่สามารถลงทุนได้อย่างแน่นอน

ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องส่งเสริมให้เกษตรกร สหกรณ์การเกษตร และวิสาหกิจชุมชน เข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำในการซื้อเครื่องจักรกลทางการเกษตร เพื่อรับจ้างหรือให้บริการเกษตรรายย่อย เช่น รถตัดอ้อย รถเกี่ยวข้าว รถเก็บและสีข้าวโพด เครื่องอัดก้อนฟาง และส่งเสริมการขยายโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนให้ครอบคลุมพื้นที่ที่มีวัตถุดิบทางการเกษตร เพื่อลดการเผา รวมถึงส่งเสริมการจัดการแปลงที่ดิน ด้วยการจัดเวลาเพาะปลูก การรวมแปลง เพื่อรองรับการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรให้เหมาะสม

ทั้งนี้ขอให้ทำแผนลดการเผาซังข้าว ข้าวโพด เหมือนกรณีอ้อย ที่มีแผนการลดการเผาในปี 2565 พร้อมกับส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าของเศษวัสดุที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวทางการเกษตรมาอัดเป็นก้อนแล้วขายให้โรงงานไฟฟ้าชีวมวลในท้องถิ่น รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถนาไปใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ เช่น โรงงานน้าตาล โรงงานปูนซีเมนต์ เป็นต้น

โดยภาคเอกชนมีเป้าหมายในปี 2565 โรงงานจะงดรับซื้ออ้อยถูกเผาเป็น 0 เปอร์เซ็นต์ ส่วนปีนี้ (63) มีรณรงค์ให้โรงงานรับอ้อยสดเข้าหีบไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 รวมถึงหากเกษตรกรนำอ้อยไฟไหม้มาจำหน่ายจะได้ราคาน้อยกว่าอ้อยสดด้วย

ด้านนายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ได้เสนอแนวทางการแก้ PM 2.5 ด้านการขนส่ง ว่า ขอให้รัฐบาลเข้มงวดการตรวจจับรถควันดำทุกประเภท ทั้งรถบรรทุก รถตู้ รถ โดยสาร รถสองแถว รวมถึงรถยนต์ส่วนบุคคลและจักรยานยนต์และให้มีการตรวจวัดควันดำตั้งแต่ต้นทางของบริษัทรับขนส่งสินค้า

นอกจากนี้ให้มีการตรวจสภาพรถบรรทุกและรถยนต์ที่มี อายุเกิน 7 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นเป็นปีละ 2 ครั้ง จากเดิมปีละ 1 ครั้ง และขอให้มีการทบทวนมาตรการการเดินรถวันคู่-คี่ และการจำกัดเวลาใน การเดินรถ พร้อมขอให้ยกเลิกรถบริการสาธารณะทุกประเภทที่หมดอายุการใช้งาน และ ให้เปลี่ยนเป็นรถที่ใช้พลังงานสะอาดและให้มีมาตรการจูงใจให้กับผู้ใช้รถยนต์เก่าอายุเกิน 10 ปีขึ้นไปเปลี่ยนเป็นรถยนต์ Hybrid หรือ EV

ขณะที่ น.ส.ลิซ่า งามตระกูลพาณิชย์ อุปนายกสมาคมอุสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เสนอแนวแนะด้านการก่อสร้าง ว่า ให้กำกับดูแลพื้นที่ก่อสร้างที่อยู่ในโซนที่มีค่ามลภาวะ ทางอากาศวิกฤตให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ส่วนการขยายเขตพื้นที่จำกัดรถบรรทุกเข้ากรุงเทพฯ และการห้าม รถบรรทุกเข้าพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ อาจจะกระทบต่อแผนงานก่อสร้างตามโครงการต่าง ๆดังนั้น ขอให้รัฐพิจารณามาตรการช่วยเหลือ ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ เช่น การขยายเวลา ก่อสร้างโครงการภาครัฐให้เป็นไปตามช่วงเวลาที่ต้องหยุด เดินรถเข้าเขตพื้นที่ที่กำหนด

ทั้งนี้ในส่วนของผู้ประกอบการก่อสร้างต้องดำเนินการตามแผน EIA อย่างเคร่งครัดเพื่อไม่ให้พื้นที่ก่อสร้างเป็นพื้นที่ที่สร้าง มลพิษทางอากาศ และรณรงค์ให้ผู้ประกอบการมีการวางแผนและเปลี่ยน รูปแบบการก่อสร้างที่มีความเหมาะสม โดยใช้ชิ้นส่วน คอนกรีตสำเร็จรูป (Precast) นำมาประกอบที่หน้างาน เพื่อลดฝุ่นจากการขนส่งวัตถุดิบและการใช้เครื่องมือเครื่องจักร พร้อมใช้สเปรย์ฉีดพ่นน้าในพื้นที่ก่อสร้างเพื่อป้องกันฝุ่น ฟุ้งกระจายอีกทางด้วย

ทั้งนี้ภาคเอกชนยังได้เสนอให้มีการสนับสนุนการลดหย่อนภาษีเงินได้และภาษีที่ดินสำหรับเอกชนผู้ปลูกป่าเศรษฐกิจในที่ดินของตัวเองเพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในการดูดซับมลพิษ