ไม่พบผลการค้นหา
นักกิจกรรมยื่น กมธ. การทหารฯ ตรวจสอบการบริหารงานในกองทัพหลังเหตุกราดยิงโคราช - หวั่นผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจโดยมิชอบ - ขาดประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยของอาวุธ

คณะประชาชนเพื่ออิสรภาพ – คปอ. ​​​​​​กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย (DRG) และองค์กรพันธมิตร นำโดย นายโชติศักดิ์ อ่อนสูง คณะประชาชนเพื่ออิสรภาพ (คปอ.) นายกิตติธัช สุมาลย์นพ คณะประชาชนเพื่ออิสรภาพ (คปอ.) นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ สหภาพนักเรียนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย น.ส. ชลธิชา แจ้งเร็ว และ น.ส. ณัฏฐา มหัทธนา ผู้ประสานงานทำหนังสือขอให้ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การทหาร สภาผู้แทนราษฎรตรวจสอบปัญหาการบริหารงานในกองทัพ ที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน การใช้อำนาจมิชอบโดยผู้บังคับบัญชา และการขาดประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยของอาวุธ

หนังสือร้องเรียนลงวันที่ 13 ก.พ.2563 อ้างอิงกรณีกราดยิงในจังหวัดนครราชสีมาเมื่อวันที่ 8-9 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 30 คน บาดเจ็บ 58 คน แฃะภายหลังเหตุการณ์ได้มีการเปิดเผยโดยสื่อมวลชนหลายสำนักถึงลำดับเหตุการณ์การปล้นอาวุธและชนวนเหตุความขัดแย้งกับผู้บังคับบัญชา รวมถึงเครือญาติ ทำให้สังคมตั้งคำถามถึงการทุจริตและประสิทธิภาพการบริหารงานในกองทัพ ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้บัญชาการทหารบก คณะผู้ยื่นหนังสือจึงขอร้องเรียนในตรวจสอบประเด็นต่างๆ ได้แก่

1. การเก็บรักษาคลังอาวุธในค่ายทหาร ระบบการรักษาความปลอดภัยภายในค่าย การฝึกอบรมกำลังพลให้มีความพร้อมรับกับสถานการณ์ที่คล้ายการก่อการร้าย เพื่อกำจัดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนนั้น ทางกองทัพได้มีระบบที่ได้มาตรฐานสากล และบริหารงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพหรือไม่ เพราะมีรายงานว่าหลังจากจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ คนร้ายใช้เวลาเกือบหนึ่งชั่วโมง ในการปล้นเพื่อสะสมอาวุธจากหลายจุดภายในค่ายทหาร ก่อนขับรถออกไปก่อเหตุต่อประชาชน

2. การประกอบธุรกิจในกองทัพ ซึ่งเปิดช่องให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนในหมู่บุคลากรและกำลังพล กองทัพมีนโยบายห้ามปรามและควบคุมอย่างไร ที่จะไม่ให้มีการกระทำอันไม่สมควร หรือเป็นการทุจริตต่อทรัพย์สินของราชการ โดยเฉพาะการหาประโยชน์จากที่ดินราชพัสดุ ตามที่เป็นข่าวเรื่องการจัดสรรขายโดยญาติของนายทหารผู้บังคับบัญชา โดยมีจุดประสงค์เพื่อหาประโยชน์จากส่วนต่างเงินกู้สวัสดิการ อันนำไปสู่การทุจริตคดโกงที่เกิดขึ้นต่อทหารชั้นผู้น้อยจำนวนมาก

3. การใช้อำนาจโดยมิชอบของผู้บังคับบัญชา โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นการใช้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจในการเอื้อประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัว เช่น การทำการค้ากับผู้ใต้บังคับบัญชา ตามที่เป็นข่าวกรณีการซื้อขายบ้านของคนร้ายผู้กราดยิง หรือการใช้อำนาจเพื่อข่มขู่คุกคาม ลงโทษอย่างทารุณ ไม่เป็นธรรม และละเมิดสิทธิมนุษยชน ไปจนถึงการหักเงินเดือน เบี้ยเลี้ยง และการกดขี่ในรูปแบบต่างๆ

​ซึ่งปัญหาหลักทั้งสามประการดังกล่าวไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะหน้าหรือเพิ่งเกิดขึ้น แต่เป็นลักษณะของปัญหาระยะยาวที่สะสมหมักหมมมานาน และเกิดขึ้นภายใต้การบริหารของผู้บัญชาการทหารบก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ 

กลุ่มผู้ยื่นหนังสือยังระบุอีกด้วยว่า ผบ.ทบ.จะต้องมีส่วนในการรับผิดชอบ และต้องถูกตรวจสอบ ร่วมกับการแสวงหาข้อเท็จจริงจากกำลังพลทุกระดับ รวมถึงทหารชั้นผู้น้อยที่เกี่ยวข้องและเป็นผู้เสียหาย ที่ปรากฏว่ามีจำนวนมากตามที่ได้มีการเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน ​จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร จะได้พิจารณาและเชิญผู้บัญชาการกองทัพบก บุคคลที่เกี่ยวข้อง ผู้เสียหาย รวมถึงสื่อมวลชนที่ได้ทำข่าวเชิงสืบสวนมาแล้วอย่างละเอียด มาให้ข้อมูล เพื่อให้สามารถจัดทำรายงานและมีข้อเสนอแนวทางการแก้ไขต่อสภาผู้แทนราษฎร อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูปกองทัพต่อไป

โบว์ ณัฏฐา 56-465E-47B3-AF5A-DB997CD7EE16.jpeg